วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

3.หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เมนูหลักที่ 3 : หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

***อริยสัจ 4


อริยสัจ แปลว่า ความจริงอย่างประเสริฐ โดยแยกศัพท์ เป็น อริยะ แปลว่า “ ประเสริฐ” สัจจะ คือ ความจริง ฉะนั้น อริยสัจ จึงแปลว่า ความจริงอย่างประเสริฐ

 มีคำถามว่า ธรรมะหรือพระสูตรอื่นๆ ไม่ใช่ความจริงอย่างประเสริฐหรือ ตอบว่า ธรรมะหรือพระสูตรอื่นๆแม้จะเป็นความจริง ก็เป็นความจริงทั่วไป หาเป็นความจริงพิเศษเลิศอย่างอริยสัจนี้ไม่ เพราะอริยสัจทั้ง ถ ประการนี้เป็นความจริงที่ใครๆคัดค้านไม่ได้ เป็นอริยะจริงๆวึ่งผู้เข้าถึงอริยสัจแล้ว ย่อมกลายเป็นพระอริยบุคคล

อริยสัจ ๔ คือ ๑. ทุกข์ (Suffering) ๒. สมุทัย (The cause of sufferingป ๓. นิโรธ (The cessation of suffering) ๔. มรรค (The path leading to the cessation to the cessation of suffering) ( วิปัสสนาภาวนา. ฐิตวณโณ ภิกขุ. พระธรรมวิสุทธิกวี )

***ไตรลักษณ์

๑. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่คงตัว ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

๒. ทุกขตา (Conflict)ความเป็นทุกข์ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ภาวะที่กดดันฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วนตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหา อุปาทาน

๓. อนัตตาตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตาความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวจนแท้จริงที่จะสั่งบังคับให้เป็นอย่างไรได้ สิ่งทั้งหลายหากจะกล่าวว่ามี ก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปกระแสที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆอันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นเพียงภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดดับไม่คงที่และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดันขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัย เช่นนี้ ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนแท้จริงไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจของใครๆ ที่จะสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆตามใจปรารถนา

พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา...สัญญา..สังขาร....วิญญาณ เป็นอนัตตา หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณจักเป็นอัตตา( ตัวตน)แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนาในรูป..ในเวทนา...ในสัญญา...ในสังขาร...ในวิญญาณว่า“ ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” แต่เพราะเหตุที่รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆไม่อาจได้ตามความปรารถนาในรูป...ในเวทนา...ในสัญญา...ในสังขาร...ในวิญญาณว่า “ขอรูป..ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็อย่างนั้นเลย”

( พุทธธรรม พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต )


***ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท แปลพอได้ความหมายในเบื้องต้นว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายโดยอาศัยกัน การทำสิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆจึงเกิดมีขึ้น หรือการที่ทุก๘์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมา ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมอีกหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎแห่งธรรชาติ หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย คำสรุปปฏิจจสมุปบาท บ่งว่า เป็นกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งความทุกข์


๑. หลักทั่วไป

ก. อิมสมึ สติ อิท โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสสุปปทา อิท อุปปชชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ข. อิสมึ อสติ อิท น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสส นิโรธา อิท นิรุชฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ ( ด้วย)


๒. หลักแจงหัวข้อ หรือหลักประยุกต์

ก.อวิชชาปจจยา สงขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สงขารปจจยา วิญญาณ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญญาณปจจยา นามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปปจจยา สฬายตน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจจยา ผสโส เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผสสปจจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาปจจยา ตณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตัณหาปจจยา อุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
อุปาทาปจจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภวปจจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติปจจยา ชรามรณ เพราะชาติเป็ยปัจจัย ชรามรณะจึงมี
.........................................................................................................
โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสา สมภวนติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม
เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ ด้วยประการฉะนี้
ข. อวิชชย ตเวว อเสสวิราคนิโรธา สงขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกไปไม่เหลือสังขารจึงดับ
สงขารนิโรโธ วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญญาณนิโรโธ นามรูปนิโรโธ เพราะวิยญาณดัดับ นามรูปจึงดับ
นามรูปนิโรโธ สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนจึงดับ
สฬายตนนิโรโธ ผสสนิโรโธ เพราะสฬายตนดับ ผัสสะจึงดับ
ผสสนิโรโธ เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เวทนานิโรโธ ตณหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
ตณหนิโรโธ อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
อุปาทานิโรโธ ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
ภวนิโรโธ ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
ชาตินิโรโธ ชรามรณนิโรโธ เพราะชาติดับ ชารามรณะ (จึงดับ)
.................................................................................................... .......
โสกปริเทวทุกขโทมนสสสุปายาสา นิรุชฌนติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส นิโรโธ โหติ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ขอให้สังเกตว่า คำสรุปปฏิจจสมุปบาทนี้ บ่งว่า เป็นกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งกองทุกข์


ความหมายของ “ ทุกข์ “

คำว่า ”ทุกข์ “ มีความสำคัญและมีบทบาทมากในพุทธธรรม แม้ในหลักธรรมอื่นๆเช่นไตรลักษณ์ และอริยสัจ ก็มีทุกข์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ จึงควรทำความเข้าใจในคำว่าทุกข์กันให้ชัดเจนก่อน เมื่อทำความเข้าใจในพุทธธรรม ให้สลัดความเข้าใจแคบๆในภาษาไทยทิ้งไปเสียก่อน และพิจารณาใหม่ตามความหมายกว้างๆของพุทธพจน์ที่แบ่ง ทุกขตา เป็น ๓ อย่าง พร้อมด้วยคำอธิบายในอรรถกถา ดังนี้

๑. ทุกขตทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือความทุกข์กายทุกข์ใจอย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ ที่เรียกกันว่าทุกขเวทนา ( ความทุกข์อย่างปกติ ที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)

๒. วิปริณามทุกขตา ทุกเนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่เนื่องในความผันแปรของสุข คือความสุขที่กลายเป็นความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์เพราะความแปรปรวนกลับกลายของมันเอง ภาวะที่ปกติก็สบายดีเฉยอยู่ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจางลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลับกลายเป็นทุกข์ไป เสมือนเป้นทุกข์แฝง ซึ่งแสดงตัวออกมาในทันทีที่ความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนลางไป ยิ่งสุขมากขึ้นเพียงใด ก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านนั้น เสมือนว่าทุกกขืที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป ถ้าความสุขนั้นไม่เกิดขึ้น ทุกขืเพราะสุขนั้นก็ไม่มี แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้นอาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยหวาดกังวลใจหายไหวหวั่น

๓. สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของตัวสังขารเอง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๕ ( รวมถึง มรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม ) เป็นทุกข์ คือเป้นสภาพที่ถุกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้งกัน มีการเกิดขึ้นและสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง อยู่ในในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ ( ความรู้สึกทุกข์หรือทุกขเวทนา ) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทันต่อสภาพและกระแสของมัน แล้วเข้าไปฝืนกระแสอย่างทื่อๆด้วยคความอยากความยึด ผ ตัณหาอุปาทาน ) อย่างโง่ๆ ผ อวิชชา) ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา

ทุกข์ข้อสำคัญคือข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายในภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นก็ได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิดทุกขืได้เสมอ แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน

สิ่งทั้งหลายคือกระแสเหตุปัจจัย มิใช่มีตัวตนที่เที่ยงแท้เป็นจริง หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการที่สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างเป็นกระแส ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ ขยายความออกไปให้เห็นแง่ต่างๆ คือ

* สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยกัน

* สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์

* สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย

* สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว

* สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน

* สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกำเนิดเดิมสุด

( พุทธธรรม พระรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต)

***ไตรสิกขา 

คือการศึกษา ทั้ง ๓ มีหัวข้อตามหลักดังนี้
๑. อธิศีลศิกขา การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา และอาชีพ ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล (Training in Higher Morality)
๒. อธิจิตตสิกขา การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ (Training in Higher Mentality หรือ Concentration)
๓. อธิจิตปัญญาสิกขา การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง (Training in Higher Wisdom)

ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ ๓ อย่าง ) คือ
๑. สพพปาปสส อกรณ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล )
๒. กุสลสสูปสมปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ )
๓. สจิตตปริโยทปน การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา )

องค์ประกอบทั้ง ๘ ของมรรค จัดปรับเข้าระบบการศึกษาที่ครบองค์ ๓ ของไตรสิกขา

ไตริกขานี้ เรียกว่าเป็น “พหุลธัมมีกถา” คือคำสอนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงบ่อย และมีพุทธพจน์แสดงต่อเนื่องกันของกระบวนการสึกษาฝึกอบรมที่เรียกว่าไตรสิกขา ดังนี้

“ ศีลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญาเป็นอย่างนี้ สมาธิทำศีลบ่มแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ปัญยาที่สมาธิบ่มแล้วย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก จิตที่ปัญยาบ่มแล้วย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง คือ จากกมามสวะ ภวาสวะ และอวิชาชาสวะ

ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ


(ศีล -> สมาธิ ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม ได้ทำประโยขน์อย่างยน้อยดำเนินชีวิตดดยสุจริต มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึกไม่ยอมรับของสังคม และไม่มีความฟุ้งว่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอกโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด คำทีพูดและการที่ทำ

( สมาธิ -> ปัญญา ) ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน สงบ อยู่กับตัว ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก้ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง แล่น คล่อง เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น

อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย ไม่ไปแกล้งลสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆก้นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน ( ปัญญา )

ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห้นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป


( พุทธธรรม พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต )


***โอวาทปาฏิโมกข์
- ไม่ทำชั่ว - ทำความดี - ทำจิตใจให้ผ่องใส


***มรรคมีองค์ ๘

หัวข้อของมัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยอัฏฐังคิกมัคค์ / อารยอัษฎางค์คิกมรรค ( มรรคอันประเสริฐ มีองค์ ๘ อย่าง ) มีดังนี้


๑. สัมมาทิฏฐฺ ความเห็นชอบ ( Right View Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ( Right Thought)
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ ( Right speech)
๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ( Right Action)
๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ( Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ ( Right Effort)
๗. สัมมสติ ระลึกชอบ (Right Mindfulness)
๘. สัมมสมาธิ จิตมั่นชอบ ( Right Concentration)


องค์ประกอบทั้ง ๘ นี้ มิใช่ทาง ๘ ทาง หรือ หลักการทำต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จส้นไปทีละข้อตามลำดับ แต่เป็นส่วนประกอบ ของทางสายเดียวกัน ต้องอาศัยกันและกัน เหมือนเกลียวเชือก ๘ เกลียว ที่รวมกันเข้าเป็นเชือกเส้นเดียวกัน และต้องปฏิบัติเคียง ข้างกันไปโดยตลอด



***มหาสติปัฏฐาน ๔
- กายานุปัสสนสติปัฏฐาน - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - ธรรมมนุปัสสนาสติปัฏฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำนิยามความคิดเชิงสร้างสรรค์

คำนิยามนักวิชาการประเทศไทย (2 ท่าน) 1.อารี รังสินันท์ ( 2527) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดจินตนาการปร...