วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

4.การปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชน



เมนูหลักที่ 4 : การปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชน




หลักจริยธรรม หรือศีลธรรม ทางพระพุทธศาสนามี ๓ ขั้น ๑. ขั้นมูลฐาน ๒. ขั้นกลาง ๓.ขั้นสูง





ก.จริยธรรมขั้นมูลฐาน เรียกว่า “ ศีล ๕ ธรรม ๕ “ หรือ เบญจศีล เบญจธรรม” ดังต่อไปนี้


๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ เป็นศีล กรุณาต่อสัตว์หรือมนุษย์ เป็นธรรม


๒. เว้นจากการลัก ฉ้อ เป็นศีล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และประกอบอาชีพสุจริต เป็นธรรม


๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นศีล สำรวมในกาม เป็นธรรม


๔. เว้นจากการพูดปด เป็นศีล พูดจริง เป็นธรรม


๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย เป็นศีล มีสติสำรวมระวัง เป็นธรรม









ข. จริยธรรมชั้นกลาง เรียกว่า “ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ “ ดังต่อไปนี้ทางกาย ๓ ข้อ
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นการประพฤติผิดในกาม










ทางวาจา ๔ ข้อ

๑. เว้นจากการพูดปด

๒. เว้นจากการพูดยุยงให้แตกร้าวกัน

๓. เว้นจาการพูดหยาบ

๔. เว้นจากการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ





ทางใจ ๓ ข้อ
๑. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
๒. ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น หรือคิดให้เขาพินาศ
๓. ไม่เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม โดยมีความเห็นถูกต้องว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บิดามารดามีคุณ เป็นต้น






ค. จริยธรรมขั้นสูง เรียกว่า “อริยมรรค “ แปลว่า “ ทางอันประเสริฐ ” บ้าง เรียกว่า”มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า “ข้อปฏิบัติทางสายกลาง “ บ้าง มี ๘ ประการ คือ
๑. ความเห็นชอบ คือมีปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ ประการ
๒. ความดำริชอบ คือ ดำริในการออกจากกาม ในการไม่ปองร้าย ดำริในการไม่เบียดเบียน
๓. การเจรจาชอบ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่ยุยงให้แตกร้าว ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๔. การกระทำชอบ คือ ไม่ฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
๕. การเลี้ยงชีพชอบ คือ ไม่หาเลี้ยงชีพในทางที่ผิดที่มีโทษ ประกอบอาชีพที่ชอบธรรม
๖. ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำความดีเกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗. การตั้งสติชอบ คือ ตั้งสติพิจารณาร่างกาย เวทนา หรือความรู้สึกสุขทุกข์ ตลอดจนไม่สุข ไม่ทุกข์ จิต และธรรม รวม ๔ ประการ ให้รู้เท่าทันเห็นทั้งความเกิด ความดับ
๘. การตั้งใจมั่นชอบ คือ การทำจิตใจให้สงบมีสมาธิอย่างแน่วแน่ ที่เรียกว่าได้ฌาน ๔






ความหมายหลายนัยของเบญจศีล


เบญจศีล หรือศีลห้า ท่านผู้รู้ได้ให้ความหมายไว้หลายนัย เช่น
มนุษยธรรม หมายถึง ธรรมของมนุษย์ คนที่เกิดมาไม่มีศีลกำกับ ก็เป็นมนุษย์ที่ไร้ความหมาย คุณค่าต่ำ ไม่แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ
อารยธรรม หมายถึง ธรรมอันประเสริฐหรือธรรมของพระอริยเจ้า
มาตรฐานสังคม หมายถึงเครื่องชี้วัดของสังคมว่าจะสงบสุข หรือเดือดร้อน ให้ดูมาตรวัดคือเบญจศีล
สัญญาประชาคม หมายถึง ข้อกติกาที่สังคมต้องร่วมกันประพฤติ จึงจะเกิดสันติสุข
หลักประกันสังคม หมายถึง สังคมจะมั่นใจว่าอันตรายไม่เกิดถ้าได้อยู่ร่วมกันกับผู้รักษาศีลห้า สังคมจะหวาดวิตก เมื่อทราบว่าอยู่ท่ามกลางคนไร้ศีล
คนที่มีศีลห้าเป็นพื้นฐาน ชีวิตจะรับน้ำหนักได้มากเพราะฐานแข็งแรง โดยเฉพาะน้ำหนักในทางดี เมื่อเรารักษาศีล ศีลจะรักษาเรามิให้เสียหาย และศีลจะรักษาสังคมมิให้ล่มสลาย






องค์ประกอบของศีลห้าแต่ละข้อ


องค์ประกอบปาณาติบาต ๕ อย่าง
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสัญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดจะฆ่า
๔. ปโยโค มีความเพียรที่จะฆ่า
๕. เตนมรนัง สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น










องค์ประกอบอทินาทาน ๕ อย่าง

๑. ปรปริคคหิตัง วัตถุสิ่งของที่มีเจ้าของเก็บรักษาไว้

๒. ปรปริคคหิตสัญญิตา รู้ว่าวัตถุสิ่งนั้นมีเจ้าของเก็บรักษาไว้

๓. เถยยจิตตัง มีจิตคิดจะลัก

๔. ปโยโค ทำความเพียรที่จะลัก

๕. อวหาโร ได้สิ่งของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น





องค์ประกอบกาเมสุมิจฉาจาร ๔ อย่าง
๑. อคมนิยวัตถุ วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
๒. ตัสมิง เสวนจิตตัง มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
๓. ปโยโค มีความพยายามที่จะเสพ
๔. มัคเคนมัคคปฏิปตันติ- มีความพอใจในการประกอบมรรคซึ่งกันและกัน






อธิวาสัง






องค์ประกอบมุสาวาท ๔ อย่าง
๑. อวัตถวัตถุ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริงอย่างหนึ่ง
๒. วิสังวาทจิตตา มีจิตคิดมุสาอย่างหนึ่ง
๓. ปโยโค พยายามมุสาด้วยกายหรือด้วยวาจาตามความประสงค์ของตนอย่างหนึ่ง
๔. ตทัตถวิชานนัง ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสา





องค์ประกอบสุราเมรัย ๔ อย่าง
๑. สุราเมรยภาโว สิ่งที่เป็นสุราและเมรัย
๒. ปิวิตุกามตา มีความประสงค์จะดื่ม
๓. ปิวนัง ทำการดื่ม
๔. มัททวัง มีอาการมึนเมา






บทสรุปการละเมิดศีลห้า


๑. โหดร้าย ๒. มือไว ๓.ใจเร็ว ๔. ขี้ปด ๕.หมดสติ

3.หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เมนูหลักที่ 3 : หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

***อริยสัจ 4


อริยสัจ แปลว่า ความจริงอย่างประเสริฐ โดยแยกศัพท์ เป็น อริยะ แปลว่า “ ประเสริฐ” สัจจะ คือ ความจริง ฉะนั้น อริยสัจ จึงแปลว่า ความจริงอย่างประเสริฐ

 มีคำถามว่า ธรรมะหรือพระสูตรอื่นๆ ไม่ใช่ความจริงอย่างประเสริฐหรือ ตอบว่า ธรรมะหรือพระสูตรอื่นๆแม้จะเป็นความจริง ก็เป็นความจริงทั่วไป หาเป็นความจริงพิเศษเลิศอย่างอริยสัจนี้ไม่ เพราะอริยสัจทั้ง ถ ประการนี้เป็นความจริงที่ใครๆคัดค้านไม่ได้ เป็นอริยะจริงๆวึ่งผู้เข้าถึงอริยสัจแล้ว ย่อมกลายเป็นพระอริยบุคคล

อริยสัจ ๔ คือ ๑. ทุกข์ (Suffering) ๒. สมุทัย (The cause of sufferingป ๓. นิโรธ (The cessation of suffering) ๔. มรรค (The path leading to the cessation to the cessation of suffering) ( วิปัสสนาภาวนา. ฐิตวณโณ ภิกขุ. พระธรรมวิสุทธิกวี )

***ไตรลักษณ์

๑. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่คงตัว ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

๒. ทุกขตา (Conflict)ความเป็นทุกข์ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ภาวะที่กดดันฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วนตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหา อุปาทาน

๓. อนัตตาตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตาความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวจนแท้จริงที่จะสั่งบังคับให้เป็นอย่างไรได้ สิ่งทั้งหลายหากจะกล่าวว่ามี ก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปกระแสที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆอันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นเพียงภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดดับไม่คงที่และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดันขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัย เช่นนี้ ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนแท้จริงไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจของใครๆ ที่จะสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆตามใจปรารถนา

พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา...สัญญา..สังขาร....วิญญาณ เป็นอนัตตา หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณจักเป็นอัตตา( ตัวตน)แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนาในรูป..ในเวทนา...ในสัญญา...ในสังขาร...ในวิญญาณว่า“ ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” แต่เพราะเหตุที่รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆไม่อาจได้ตามความปรารถนาในรูป...ในเวทนา...ในสัญญา...ในสังขาร...ในวิญญาณว่า “ขอรูป..ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็อย่างนั้นเลย”

( พุทธธรรม พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต )


***ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท แปลพอได้ความหมายในเบื้องต้นว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายโดยอาศัยกัน การทำสิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆจึงเกิดมีขึ้น หรือการที่ทุก๘์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมา ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมอีกหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎแห่งธรรชาติ หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย คำสรุปปฏิจจสมุปบาท บ่งว่า เป็นกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งความทุกข์


๑. หลักทั่วไป

ก. อิมสมึ สติ อิท โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสสุปปทา อิท อุปปชชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ข. อิสมึ อสติ อิท น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสส นิโรธา อิท นิรุชฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ ( ด้วย)


๒. หลักแจงหัวข้อ หรือหลักประยุกต์

ก.อวิชชาปจจยา สงขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สงขารปจจยา วิญญาณ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญญาณปจจยา นามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปปจจยา สฬายตน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจจยา ผสโส เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผสสปจจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาปจจยา ตณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตัณหาปจจยา อุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
อุปาทาปจจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภวปจจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติปจจยา ชรามรณ เพราะชาติเป็ยปัจจัย ชรามรณะจึงมี
.........................................................................................................
โสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาสา สมภวนติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม
เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ ด้วยประการฉะนี้
ข. อวิชชย ตเวว อเสสวิราคนิโรธา สงขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกไปไม่เหลือสังขารจึงดับ
สงขารนิโรโธ วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญญาณนิโรโธ นามรูปนิโรโธ เพราะวิยญาณดัดับ นามรูปจึงดับ
นามรูปนิโรโธ สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนจึงดับ
สฬายตนนิโรโธ ผสสนิโรโธ เพราะสฬายตนดับ ผัสสะจึงดับ
ผสสนิโรโธ เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เวทนานิโรโธ ตณหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
ตณหนิโรโธ อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
อุปาทานิโรโธ ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
ภวนิโรโธ ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
ชาตินิโรโธ ชรามรณนิโรโธ เพราะชาติดับ ชารามรณะ (จึงดับ)
.................................................................................................... .......
โสกปริเทวทุกขโทมนสสสุปายาสา นิรุชฌนติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
เอวเมตสส เกวลสส ทุกขกขนธสส นิโรโธ โหติ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ขอให้สังเกตว่า คำสรุปปฏิจจสมุปบาทนี้ บ่งว่า เป็นกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งกองทุกข์


ความหมายของ “ ทุกข์ “

คำว่า ”ทุกข์ “ มีความสำคัญและมีบทบาทมากในพุทธธรรม แม้ในหลักธรรมอื่นๆเช่นไตรลักษณ์ และอริยสัจ ก็มีทุกข์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ จึงควรทำความเข้าใจในคำว่าทุกข์กันให้ชัดเจนก่อน เมื่อทำความเข้าใจในพุทธธรรม ให้สลัดความเข้าใจแคบๆในภาษาไทยทิ้งไปเสียก่อน และพิจารณาใหม่ตามความหมายกว้างๆของพุทธพจน์ที่แบ่ง ทุกขตา เป็น ๓ อย่าง พร้อมด้วยคำอธิบายในอรรถกถา ดังนี้

๑. ทุกขตทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือความทุกข์กายทุกข์ใจอย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ ที่เรียกกันว่าทุกขเวทนา ( ความทุกข์อย่างปกติ ที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)

๒. วิปริณามทุกขตา ทุกเนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่เนื่องในความผันแปรของสุข คือความสุขที่กลายเป็นความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์เพราะความแปรปรวนกลับกลายของมันเอง ภาวะที่ปกติก็สบายดีเฉยอยู่ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจางลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลับกลายเป็นทุกข์ไป เสมือนเป้นทุกข์แฝง ซึ่งแสดงตัวออกมาในทันทีที่ความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนลางไป ยิ่งสุขมากขึ้นเพียงใด ก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านนั้น เสมือนว่าทุกกขืที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป ถ้าความสุขนั้นไม่เกิดขึ้น ทุกขืเพราะสุขนั้นก็ไม่มี แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้นอาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยหวาดกังวลใจหายไหวหวั่น

๓. สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของตัวสังขารเอง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๕ ( รวมถึง มรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม ) เป็นทุกข์ คือเป้นสภาพที่ถุกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้งกัน มีการเกิดขึ้นและสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง อยู่ในในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ ( ความรู้สึกทุกข์หรือทุกขเวทนา ) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทันต่อสภาพและกระแสของมัน แล้วเข้าไปฝืนกระแสอย่างทื่อๆด้วยคความอยากความยึด ผ ตัณหาอุปาทาน ) อย่างโง่ๆ ผ อวิชชา) ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา

ทุกข์ข้อสำคัญคือข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายในภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นก็ได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิดทุกขืได้เสมอ แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน

สิ่งทั้งหลายคือกระแสเหตุปัจจัย มิใช่มีตัวตนที่เที่ยงแท้เป็นจริง หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการที่สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างเป็นกระแส ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ ขยายความออกไปให้เห็นแง่ต่างๆ คือ

* สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยกัน

* สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์

* สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย

* สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว

* สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน

* สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกำเนิดเดิมสุด

( พุทธธรรม พระรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต)

***ไตรสิกขา 

คือการศึกษา ทั้ง ๓ มีหัวข้อตามหลักดังนี้
๑. อธิศีลศิกขา การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา และอาชีพ ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล (Training in Higher Morality)
๒. อธิจิตตสิกขา การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ (Training in Higher Mentality หรือ Concentration)
๓. อธิจิตปัญญาสิกขา การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง (Training in Higher Wisdom)

ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ ๓ อย่าง ) คือ
๑. สพพปาปสส อกรณ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล )
๒. กุสลสสูปสมปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ )
๓. สจิตตปริโยทปน การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา )

องค์ประกอบทั้ง ๘ ของมรรค จัดปรับเข้าระบบการศึกษาที่ครบองค์ ๓ ของไตรสิกขา

ไตริกขานี้ เรียกว่าเป็น “พหุลธัมมีกถา” คือคำสอนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงบ่อย และมีพุทธพจน์แสดงต่อเนื่องกันของกระบวนการสึกษาฝึกอบรมที่เรียกว่าไตรสิกขา ดังนี้

“ ศีลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญาเป็นอย่างนี้ สมาธิทำศีลบ่มแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ปัญยาที่สมาธิบ่มแล้วย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก จิตที่ปัญยาบ่มแล้วย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง คือ จากกมามสวะ ภวาสวะ และอวิชาชาสวะ

ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ


(ศีล -> สมาธิ ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม ได้ทำประโยขน์อย่างยน้อยดำเนินชีวิตดดยสุจริต มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึกไม่ยอมรับของสังคม และไม่มีความฟุ้งว่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอกโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด คำทีพูดและการที่ทำ

( สมาธิ -> ปัญญา ) ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน สงบ อยู่กับตัว ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก้ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง แล่น คล่อง เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น

อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย ไม่ไปแกล้งลสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆก้นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน ( ปัญญา )

ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห้นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป


( พุทธธรรม พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต )


***โอวาทปาฏิโมกข์
- ไม่ทำชั่ว - ทำความดี - ทำจิตใจให้ผ่องใส


***มรรคมีองค์ ๘

หัวข้อของมัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยอัฏฐังคิกมัคค์ / อารยอัษฎางค์คิกมรรค ( มรรคอันประเสริฐ มีองค์ ๘ อย่าง ) มีดังนี้


๑. สัมมาทิฏฐฺ ความเห็นชอบ ( Right View Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ( Right Thought)
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ ( Right speech)
๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ( Right Action)
๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ( Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ ( Right Effort)
๗. สัมมสติ ระลึกชอบ (Right Mindfulness)
๘. สัมมสมาธิ จิตมั่นชอบ ( Right Concentration)


องค์ประกอบทั้ง ๘ นี้ มิใช่ทาง ๘ ทาง หรือ หลักการทำต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จส้นไปทีละข้อตามลำดับ แต่เป็นส่วนประกอบ ของทางสายเดียวกัน ต้องอาศัยกันและกัน เหมือนเกลียวเชือก ๘ เกลียว ที่รวมกันเข้าเป็นเชือกเส้นเดียวกัน และต้องปฏิบัติเคียง ข้างกันไปโดยตลอด



***มหาสติปัฏฐาน ๔
- กายานุปัสสนสติปัฏฐาน - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - ธรรมมนุปัสสนาสติปัฏฐาน

2.ศาสดาและประวัติ

เมนูหลักที่ 2 : ศาสดาและประวัติ
ประสูติ 
พระพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า “ สิทธัตถะ “ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระองค์ทรงถือกำเนิดในศากยวงค์ สกุลโคตมะ พระองค์ประสูติ ในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ( เดือนวิสาขะ ) ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ( ปัจจุบันคือตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล )          
                     



การขนานพระนาม และทรงเจริญพระชนม์ 
 พระราชกุมารได้รับการทำนายจากอสิตฤาษีหรือกาฬเทวิลดาบส มหาฤาษีผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นที่ทรงเคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะว่า “ พระราชกุมารนี้เป็นอัจฉริยมนุษย์ มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน บุคคลที่มีลักษณะดังนี้ จักต้องเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิตแล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกเป็นแน่ “

 หลังจากประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประชุมพระประยูรญาติ และเชิญพราหมณ์ ผู้เรียนจบไตรเพท จำนวน ๑๐๘ คน เพื่อมาทำนายพระลักษณะของพระราชกุมาร 

พระประยูรญาติได้พร้อมใจกันถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” มีความหมายว่า “ ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ” ส่วนพราหมณ์เหล่านั้นคัดเลือกกันเองเฉพาะผู้ที่ทรงวิทยาคุณประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมดได้ ๘ คน เพื่อทำนายพระราชกุมาร พราหมณ์ ๗ คนแรก ต่างก็ทำนายไว้ ๒ ประการ คือ “ ถ้าพระราชกุมารเสด็จอยู่ครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม หรือถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิตจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก” ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ผู้มีอายุน้อยกว่าทุกคน ได้ทำนายเพียงอย่างเดียวว่า พระราชกุมารจักเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต แล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก “

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต ( การเสด็จสวรรคตดังกล่าวเป็นประเพณีของผู้ที่เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า ) พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา เป็นผู้ถวายอภิบาลเลี้ยงดู เมื่อพระสิทธัตถะทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร ซึ่งมีเกียรติคุณแพร่ขจรไปไกลไปยังแคว้นต่างๆ เพราะเปิดสอนศิลปวิทยาถึง ๑๘ สาขา เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาเหล่านี้ได้อย่างว่องไว และเชี่ยวชาญจนหมดความสามารถของพระอาจารย์




อภิเษกสมรส          ด้วยพระราชบิดามีพระราชประสงค์มั่นคงที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงครองเพศฆราวาสเป็นพระจักพรรดิผู้ทรงธรรม จึงพระราชทานความสุขเกษมสำราญ แวดล้อมด้วยความบันเทิงนานาประการแก่พระราชโอรสเพื่อผูกพระทัยให้มั่นคงในทางโลก เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะมีพระราชดำริว่าพระราชโอรสสมควรจะได้อภิเษกสมรส จึงโปรดให้สร้างปราสาทอันวิจิตรงดงามขึ้น ๓ หลัง สำหรับให้พระราชโอรสได้ประทับอย่างเกษมสำราญตามฤดูกาลทั้ง ๓ คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แล้วตั้งชื่อปราสาทนั้นว่า รมยปราสาท สุรมยปราสาท และสุภปราสาทตามลำดับ และทรงสู่ขอพระนางพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา แห่งเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงค์ ให้อภิเษกด้วย เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติ จนพระชนมายุมายุได้ ๒๙ พรรษา พระนางพิมพายโสรธาจึงประสูติพระโอรส พระองค์มีพระราชหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงการประสูติของพระโอรสพระองค์ตรัสว่า “ ราหุล ชาโต, พันธน ชาต , บ่วงเกิดแล้ว , เครื่องจองจำเกิดแล้ว 




ออกบรรพชา
          เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีพระบารมีอันบริบูรณ์ ถึงแม้พระองค์จะทรงพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติมหาศาลก็มิได้พอพระทัยในชีวิตคฤหัสถ์ พระองค์ยังทรงมีพระทัยฝักใฝ่ใคร่ครวญถึงสัจธรรมที่จะเป็นเครื่องนำทางซึ่งความพ้นทุกข์อยู่เสมอ พระองค์ได้เคยสด็จประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง ๔ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิต และพอพระทัยในเพศบรรพิต มีพระทัยแน่วแน่ที่จทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นทางดับทุกข์ถาวรพ้นจากวัฏสงสารไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ พร้อมด้วยนายฉันนะ มุ่งสู่แม่น้ำอโนมานที แคว้นมัลละ รวมระยะทาง ๓๐ โยชน์ (ประมาณ ๔๘๐ กิโลเมตร ) เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต และทรงมอบหมายให้นายฉันนะนำเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ์




เข้าศึกษาในสำนักดาบส          ภายหลังที่ทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละเป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จมาเฝ้าพระองค์ ณ เงื้อมเขาปัณฑวะ ได้ทรงเห็นพระจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์ก็ทรงเลื่อมใส และทรงทราบว่าพระสมณสิทธัตถะทรงเห็นโทษในกาม เห็นทางออกบวชว่าเป็นทางอันเกษม จะจาริกไปเพื่อบำเพ็ญเพียร และทรงยินดีในการบำเพ็ญเพียรนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสว่า “ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน และเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดเสด็จมายังแคว้นของกระหม่อมฉันเป็นแห่งแรก “ซึ่งพระองค์ก็ทรงถวายปฏิญญาแด่พระเจ้าพิมพิสาร




 การแสวงหาธรรมระยะแรกหลังจากทรงผนวชแล้ว สมณสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร ทรงได้สมาบัติคือ ทุติยฌาน ตติยฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน และอากิญจัญญายตนฌาน ส่วนการประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักอุทกดาบส รามบุตร นั้นทรงได้สมาบัติ ๘ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สำหรับฌานที่ ๑ คือปฐมฌานนั้น พระองค์ทรงได้ขณะกำลังประทับขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ใต้ต้นหว้า เนื่องในพระราชพิธีวัปปมงคล ( แรกนาขวัญ ) เมื่อครั้งทรงพระเยาว์
          เมื่อสำเร็จการศึกษาจากทั้งสองสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางพ้นจากทุกข์ บรรลุพระโพธิญาณ ตามที่ทรงมุ่งหวัง พระองค์จึงทรงลาอาจารย์ทั้งสอง เสด็จไปใกล้บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ


บำเพ็ญทุกรกิริยา   “ ทุกร “ หมายถึง สิ่งที่ทำได้ยาก “ ทุกรกิริยา” หมายถึงการกระทำกิจที่ทำได้ยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ”
          เมื่อพระองค์ทรงหันมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแทนการศึกษาเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกล้ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรานั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือการบำเพ็ญอย่างยิ่งยวดในลักษณะต่างๆเช่น การอดพระกระยาหาร การทรมานพระวรกายโดยการกลั้นพระอัสสาสะ พระปัสสาสะ ( ลมหายใจ ) การกดพระทนต์ การกดพระตาลุ ( เพดาน) ด้วยพระชิวหา (ลิ้น) เป็นต้น พระมหาบุรุษได้ทรงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังมิได้ค้นพบสัจธรรมอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ พระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง ในการคิดค้นวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์ คือ พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยหวังว่าพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้บ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษเลิกล้มการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี เป็นผลให้พระองค์ได้ประทับอยู่ตามลำพังในที่อันสงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติดำเนินทางสายกลาง คือการปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร นั่นเอง




ตรัสรู้  พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เวลารุ่งอรุณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ( เดือนวิสาขะ) ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)ด้วยอาการอันสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายข้าวมธุปายาส แล้วพระองค์เสด็จไปสู่ท่าสุปดิษฐ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสแล้วลงสรงสนานชำระล้างพระวรกาย แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์
อันเป็นธงชัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ หลังจากเสวยแล้วพระองค์ทรงจับถาดทองคำขึ้นมาอธิษฐานว่า “ ถ้าเราจักสามารถตรัสรู้ได้ในวันนี้ ก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป แต่ถ้ามิได้เป็นดังนั้นก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยไปตามกระแสน้ำเถิด “ แล้วทรงปล่อยถาดทองคำลงไปในแม่น้ำ ถาดทองคำลอยตัดกระแสน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำเนรัญชราแล้วลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก จึงจมลงตรงที่กระแสน้ำวน ในเวลาเย็นพระองค์เสด็จกลับมายังต้นโพธิ์ที่




ประทับ คนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะได้ถวายหญ้าปูลาดที่ประทับ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า “ แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ถ้ายังไม่บรรลุธรรมวิเศษแล้ว จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด “ เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานเช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ มีพระสติตั้งมั่น มีพระวรกายอันสงบ มีพระหทัยแน่วแน่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนโยน เหมาะแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ( ญาณเป็นเหตุระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยในชาติปางก่อนได้ )ในปฐมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่อจูตุปาตญาณ ( ญาณกำหนดรู้การตาย การเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ) ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ต่อจากนั้นทรงน้อมพระทัยไปเพื่ออาสวักขยญาณ ( ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลสทั้งหลาย) คือทรงรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตของพระองค์ก็ทรงหลุดพ้นจากกามสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วพระองค์ก็ทรงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นั่นคือพระองค์ทรงบรรลุวิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ ในปัจฉิมยาม แห่งราตรีนั้นเอง ซึ่งก็คือการตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาอย่างยิ่งยวด พระองค์ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ขณะพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา นับแต่วันที่สด็จออกผนวชจนถึงวันตรัสรู้ธรรม รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )




ประกาศพระศาสนาครั้งแรก
          เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสวยวิมุติสุข ณ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ทรงรำพึงว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้เป็นการยากสำหรับคนทั่วไป จึงทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ประกาศธรรม พระสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระองค์จึงอาราธนาให้โปรดมนุษย์ โดยเปรียบเทียบมนุษย์เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า และในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่สามารถรู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังมีอยู่ “ พระพุทธเจ้าจึงทรงน้อมพระทัยไปในการแสดงธรรม แล้วเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงปฐมเทศนา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ( เดือนอาสาฬหะ) เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรม ท่านปัญญาโกณฑัณญะได้ธรรมจักษุ คือบรรลุพระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า “ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ” พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา


การประกาศพระพุทธศาสนา
          เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ และสาวกอื่นๆซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ องค์แล้ว และเป็นช่วงที่ออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นสมควรว่าจะออกไปประกาศพระศาสนาให้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีพุทธบัญชาให้สาวกทั้ง ๖๐ องค์ จาริกออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยให้ไปแต่เพียงลำพัง แม้พระองค์ก็จะเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในการออกจาริกประกาศ พระศาสนาครั้งนั้นทำให้กุลบุตรในดินแดนต่างๆหันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและขอบรรพชา อุปสมบทเป็นอันมาก ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นสามารถอุปสมบทให้แก่กุลบุตรได้ เรียกว่า “ ติสรณคมนูปสัมปทา คืออุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาตนเป็นผู้ถึงไตรสรณคมน์” พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา



พรรษาที่ ๑  ที่พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสาวกและได้อรหันตสาวกจำนวน ๖๐ องค์แล้ว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแผ่คำสอน จนเกิดพุทธบริษัท ๔ อันมี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยังหมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ในแคว้นต่างๆทั่วชมพูทวีป
พรรษาที่ ๒  พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชน ได้พุทธสาวกดังนี้ เสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางได้โปรดกลุ่มภัททวัคคีย์ ๓๐ คน ที่ตำบลอุรุเวลาได้โปรดชฎิล ๓ พี่น้องคือ อุรุเวกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ กับศิษย์ อีก ๑๐๐๐ คน ทรงเทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะ แล้วเสด็จไปยังนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันเป็นที่อาศัยแด่คณะสงฆ์ และได้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังนครกบิฬพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธาราม ทรงได้สาวกอีกมากมาย เช่น พระนันทะ พระราหุล พระอานนท์ พระเทวทัต และพระญาติอื่นๆ ต่อมาอนาถปิณฑิกะเศรษฐีอาราธนาไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ได้ถวายสวนเชตวันแด่คณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ ๓  นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ ๔  ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ ๕  เสด็จโปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล และทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับ
การใช้น้ำในแม่น้ำโหริณี ต่อมาทรงอุปสมบทพระนางประชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี
พรรษาที่ ๖  ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในกรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษา ณ ภูเขามังกลุบรรพต
พรรษาที่ ๗  ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาได้เสด็จไปทรงเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
พรรษาที่ ๘  ทรงเทศนาในแคว้นมัคคะ ทรงจำพรรษาในเภสกลาวัน
พรรษาที่ ๙  ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
พรรษาที่ ๑๐ คณะสงฆ์ในแคว้นโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง พระพุทธองค์ทรงตักเตือนแต่คณะสงฆ์ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จไปประทับและ
จำพรรษาในป่าปาลิไลยยกะ มีช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา
พรรษาที่ ๑๑  เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา 

พรรษาที่ ๑๒  ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา และเกิดความอดอยากรุนแรงขึ้นในเวลานั้น พรรษาที่ ๑๓  ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต พรรษาที่ ๑๔  ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี พระราหุลขอผนวช พรรษาที่ ๑๕  เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบเพราะขัดขวางทางโคจร
พรรษาที่ ๑๖  ทรงเทศนาและจำพรรษาที่อาลวี
พรรษาที่ ๑๗  เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แล้วเสด็จกลับมายังอาลวี และทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ ๑๘  เสด็จไปยังอาลวี ทรงจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๑๙  ทรงเทศนาและจำพรรษาที่บนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๒๐  โจรองคุลิมารกลับใจเป็นสาวก และทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์และทรงเริ่มบัญญัติวินัย
พรรษาที่ ๒๑-๔๔ ทรงใช้เชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆ
พรรษาที่ ๔๕  เป็นพรรษาสุดท้าย พระเทวทัตคิดปลงพระชนม์ กลิ้งก้อนหินจนต้องพระองค์เป็นเหตุให้พระบาทห้อพระโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวกโกมารภัต


ทรงปรินิพาน
          พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจอยู่จนพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พระองค์เสด็จจำพรรษาสุดท้ายณ เมืองเวสาลี ในวาระนั้นพระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้วทั้งยังประชวรหนักด้วย พระองค์ได้ทรงพระดำเนินจากเวสาลีสู่เมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองนั้น พระพุทธองค์ได้หันกลับไปทอดพระเนตรเมืองเวสาลีซึ่งเคยเป็นที่ประทับ นับเป็นการทอดทัศนาเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเสด็จต่อไปยังเมืองปาวา เสวยพระกระยาหารเป็นครั้งสุดท้ายที่บ้านนายจุนทะ บุตรนายช่างทอง พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนักอย่างยิ่ง ทรงข่มอาพาธประคองพระองค์เสด็จถึงสาลวโนทยาน (ป่าสาละ)ของเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก นับเป็นสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และปุถุชน

 พระราชา ชาวเมืองกุสินารา และจากแคว้นต่างๆรวมทั้งเทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ พระพุทธองค์ได้มีพระดำรัสครั้งสำคัญว่า “ โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา ” อันแปลว่า “ ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว “

          และพระพุทธองค์ได้แสดงปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้าย ที่เราจะกล่าวแก่ท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายทั้งปวงมีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดา . ท่านทั้งหลายจงทำความรอดพ้นให้บริบูรณ์ถึงที่สุด ด้วยความไม่ประมาทเถิด “
         
          แม้เวลาล่วงมาถึงศตวรรษที่ ๒๕ แล้ว นับตั้งแต่พระองค์ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และเสด็จดับขันธปรินิพพานที่นอกเมืองกุสินาราในประเทสอินเดีย แต่คำสั่งสอนอันประเสริฐของพระองค์หาได้ล่วงลับไปด้วยไม่ คำสั่งสอนเหล่านั้นยังคงอยู่ เป็นเครื่องนำบุคคลให้ข้ามพ้นจากความมีชีวิต ขึ้นไปสู่ซึ่งคุณค่ายิ่งกว่าชีวิต คือการพ้นจากวัฏสงสารนั่นเอง

          หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และมิใช่พระอรหันต์ได้ช่วยบำเพ็ญกรณียกิจเผยแผ่พระพุทธวัจนะอันประเสริฐไปทั่วประเทศอินเดีย และขยายออกไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเป็นจริง มีเหตุผลเชื่อถือได้และ เป็นศาสนาแห่งสันติภาพและเสรีภาพอย่างแท้จริง

สรุปพุทธกิจในรอบวันของพระพุทธองค์ ๑. ปุพพณเห ปิณฑปาตญจ ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อโปรดเวไนยสัตว์
๒. สายณเห ธมมเทสน ตอนเย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่มาเข้าเฝ้า
๓. ปโทเส ภิกขุโอวาท ตอนหัวค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งเก่าและใหม่
๔. อฑฒรตเต เทวปญหาน ตอนเที่ยงคืนทรงวิสัชชนาปัญหาให้แก่เทวดาชั้นต่างๆ
๕. ปจจสเสว คเต กาเล ภพพาภพเพ วิโลกน ตอนใกล้รุ่งตรวจดูสัตว์โลกที่สามารถและไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วเสด็จไปโปรดถึงที่ แม้ว่าหนทางจะลำบากเพียงใดก็ตาม



Credit : http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=buddha_3

1.ประวัติศาสนา

เมนูหลักที่ 1 : ประวัติศาสนา
พระพุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศักราช  ๔๕  ปี  (พระพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ) ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนาคือเป็นศาสนาแห่งความรู้และความเป็นจริง เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้จากพระปัญญาอันยิ่งของพระพุทธองค์เอง   พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คืออริยสัจ ๔ ก็เป็นความจริงอันเที่ยงแท้  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ  กล่าวคือในกระบวนการคิดของโลกศาสนา  พระพุทธศาสนาได้รับยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง  เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามในนามศาสนาหรือการเผยแผ่ศาสนา เพราะ ให้เสรีภาพในการพิจารณาด้วยปัญญา  และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความอิสระเสรีภาพ กล่าวคือไม่ผูกติดกับผู้ดลบันดาลหรือพระผู้เป็นเจ้า  เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพในการปลดเปลื้องทุกข์โดยไม่ต้องรอการดลบันดาล  พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีผู้นับถือจำนวนมากหลายร้อยล้านคน โดยเฉพาะในประเทศทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก  และเอเชียอาคเนย์  ตลอดจนประเทศต่างๆทั่วโลก 
   พระศาสดาของพระพุทธศาสนาคือพระพุทธเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ  แปลว่า  “ ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ “ พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ  ทรงมีพระปัญญาอันเลิส สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ว่องไว  ทรงมีความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาการหลายสาขา


             เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา  ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนาง ยโสธราหรือพิมพา  มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า พระราหุล แม้ชีวิตในฆราวาสวิสัยจะทรงสมบูรณ์ด้วยสุขสมบัติเพียงใด พระองค์ก็ทรงมีพระราชหฤทัยน้อมไปในทางที่จะทรงผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม  เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ทั้งมีพระกรุณาประสงค์ที่จะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์   จึงทรงสละความสุขนานาประการเสด็จออกผนวชขณะที่มีพระชนมายุ  ๒๙ พรรษา หลังจากทรงผนวชพระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่างๆ จนเชี่ยวชาญ  ทั้งได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีการต่างๆ ก็ยังมิได้บรรลุถึงซึ่งทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงหันมามุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ  ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกขณะที่มีพระชนมายุได้  ๓๕ พรรษา เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนแนะนำประชาชนในแคว้นต่างๆในประเทศอินเดีย เป็นเวลาถึง  ๔๕ ปี ประชาชนในสมัยนั้น หันมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก   



             การบำเพ็ญกรณียกิจทั้งของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก  มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ แต่ครั้งแรกที่ีทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า “ ภิกษุทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยพระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณอันเลิศของพระพุทธองค์ ยังผลให้มหาชาชาวโลกได้ผ่องใสพ้นทุกข์เป็นอันมาก พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนประชาชนจนพระชนมายุ ๘๐ พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน


             หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระพุทธสาวกทั้งหลายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พุทธศักราช  ๓๐๐  พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏลีบุตรร่วมกับคณะสงฆ์ ได้ส่งพระสงฆ์ออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ พระสงฆ์คณะหนึ่งได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ  อันได้แก่ดินแดนในเขตประเทศพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้น ณ  ดินแดนแห่งนี้ตามลำดับ  จนกระทั่งถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน   ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตราไว้ว่า  พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือแม้พระองค์จะทรงนับถือพระพุทธศาสนา  แต่พระองค์ก็พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นๆในประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนาได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชนชาติไทยมาเป็นเวลาช้านาน  ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไทยล้วนได้รับการหล่อหลอมจากพระพุทธศาสนา และดำรงมั่นคงคู่ไทยตลอดมา


Credit : http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=history

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

-การทำภาพบิด

1.เปิดภาพที่ต้องการทำภาพให้บิดขึ้นมา
2.เลือกใช้เครื่องมือ Rectangular Marquee Tool แล้วนำมาลากให้ตรงกับบริเวณที่ต้องการทำให้บิด
3.ให้กด Ctrl ค้างไว้ เลือกเมนู Select > Transform > Selection ซึ่งเราจะสามารถทำเส้นปะให้ตรงแนวภาพที่เอียงได้ และเป็นบริเวณเดียวกันกับที่ต้องการให้ภาพบิด
4.จากนั้นให้กด Ctrl ค้างไว้อีกครั้ง แล้วดับเบิ้ลคลิกที่เม้าส์ เพื่อให้การปรับการหมุนภาพให้หายไปนั่นเอง
5.ให้ไปที่เมนู Filter > Distort > Shear ซึ่งเป็นหน้าต่างของการปรับภาพให้บิด ซึ่งสามารถปรับภาพให้บิดได้ตามความชอบใจ เมื่อบิดภาพเสร็จแล้ว จึงคลิก Ok เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


ภาพก่อนแก้


ภาพหลังแก้
   

-การทำภาพพุ่ง

1.เปิดภาพที่ต้องการทำภาพพุ่งขึ้นมา
2.เลือกใช้เครื่องมือ Quick Selection Tool ซึ่งสามารถปรับค่าเป็นค่าบวกค่าลบได้ แล้วนำมาทำเป็นเส้นปะรอบๆบริเวณภาพที่เราต้องการคงไว้ไม่ให้เบลอ
3.จากนั้นให้คลิกเมนู Select > Inverse จะขึ้นเป็นเส้นปะโดยรอบกรอบภาพ
4.ให้เลือกเมนู Filter > Blur > Motion Blur
5.ภาพจะออกมาเหมือนรถกำลังพุ่งไป...


ภาพก่อนแก้


ภาพหลังแก้

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

-การทำภาพเบลอ

การทำภาพเบลอ
1.Open ภาพที่ต้องการทำให้เบลอขึ้นมา
2.จากนั้นเลือกใช้เครื่องมือ Quick Selection Tool ซึ่งจะเป็นเส้นปะและที่ของการปรับเป็นค่าบวกหรือค่าลบได้ตามความเหมาะสมกับภาพนั้น
3.เมื่อเป็นเส้นปะรอบๆภาพที่ต้องการคงไว้ไม่ให้เบลอด้วยแล้ว ต่อไปจะเป็นการทำให้ภาพพื้นหลังเบลอ ให้คลิกที่ Select > Inverse
4.จะเห็นได้ว่า จะมีเส้นปะขึ้นรอบๆกรอบภาพเช่นกัน ขั้นตอนต่อไปให้คลิกที่ Filter > Filter Gallery จากนั้นให้ทำการเลือกโฟร์เดอร์ด้านขวามือ (Artistic) และทำการเลือกภาพเบลอได้ตามความชอบใจหรือหลักการ เมื่อเสร็จแล้วให้คลิก Ok
5.จากนั้นเก็บรายละเอียดปลีกย่อยขอบภาพที่ไม่เบลอ และก็ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย...

ภาพก่อนแก้


ภาพหลังแก้

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

-วิธีลบริ้วรอยหรือแก้ไขบางจุดด้วยโปรแกรม photoshop cs5

1.เลือกรูปภาพที่จะนำมาลบหรือแก้ไขบางจุด
2.เลือกเครื่องมือ Lasso Tool > Polygonal Lasso Tool จากนั้นก็นำมาลากตามภาพที่ต้องการแก้หรือลบ
3.จากนั้นก็จะทำการปรับสีภาพให้จางลงหรือหายไป โดยเลือก Edit > Fill > Ok
4.ต่อไปก็ควรระบายสีและซ่อมแซมรูปภาพให็สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเลือกเครื่องมือ Healing Brush Tool
5.หลังจากที่ระบายสีให้ภาพสมบูรณ์แล้ว สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยของรูปภาพอีกครั้ง

ภาพก่อนแก้


ภาพหลังแก้



-เครื่องมือและวิธีการใช้โปรแกรม Photoshop cs5

1.เมนูบาร์ คือ คำสั่งที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อใช้ในการทำงานโดยสะดวกมากขึ้น
2.ทูนบาร์ (Tool Bar) เป็นเครื่องมือในการทำงาน ก็สามารถปลีกย่อยออกไปอีกได้
3.พาเนล (Panal) จะบอกรายละเอียดการทำงาน เช่น ที่รูปภาพ สี ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ และเป็นส่วนที่สำคัญมาก
4.วิธี Coppy รูปภาพให้เหมือนต้นแบบ คือ กด Alt ค้างไว้ แล้วคลิกลากภาพที่ต้องการได้
5.วิธีการหันรูปภาพ คือ ไปที่ Edit > Transform > Flip Horizontal
6.วิธีการทำภาพให้ดูสบายๆ โดยกด Shift  ค้างไว้ และกด F6 ซึ่งเราสามารถใส่ตัวเลขระดับที่เหมาะสมกับขนาดภาพลงไป
7.คำสังยกเลิกการใช้งาน จะอยู่ทางด้านขวามือ คือ History

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

-การติดตั้ง Aviraantivirus-Premium 8.1

1.คลิกเข้าไป
2.เลือก ANTIVIR_WORKSTATION_WINU_EN_HP
3.คลิกที่ Accept > Yes > Next
4.ให้คลิกเลือกในช่องเล็กๆ I accept the terms of the license agreement > Next
5.ให้ใส่รหัส โดยไปคลิกที่ HBEDV.KEY แล้วหาโปรแกรมที่เราSaveไว้ เช่น My Computer > Disk D > AVIRAANTIVIRUS... > KEY VALID ITLL 2014 > HBEDV.KEY > Next
6.คลิกที่ Finish
7.ปิดหน้าต่าง Noteped ลงได้ และก็เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง

-การติดตั้ง Wrar37b7

1.คลิกเข้าไป
2.คลิกเลือก Yes > Install > Ok > Done  
3.เสร็จสิ้นการติดตั้ง

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

-การติดตั้ง Windows7

1.ใส่แผ่น แล้วRestartเครื่อง กด F10 ค้างไว้ ก็จะปรากฏจอภาพสีดำการตั้งค่าขึ้นมา
2.ไปที่ Boot > First Boot Device เปลี่ยนเป็น CD ROM > กด F10 (เพื่อSaveและปิด)
3.เมื่อหน้าจอสีดำให้เลือก 3 ข้อ ปรากฏขึ้น ให้เลือกข้อ 1 Setup Windows7 Ultimate(02.2010)>
 คลิกเลือก
4.จากนั้นหน้าจอจะปรากฎเป็นจอสีดำ มีตัวหนังสือขึ้นมา ให้รีบกดแป้นพิมพ์ ปุ่มไหนก็ได้
5.ให้รอสักครู่ เพราะเครื่องกำลังโหลด...
6.เมื่อปรากฎหน้าจอการติดตั้ง Install Windows ให้เปลี่ยน Time and currency format เป็น Thai(Thailand) เสร็จแล้วคลิก Next
7.จะปรากฏหน้าจอให้คลิก Install now
8.จากนั้นให้คลิกเลือกในช่องเล็กๆ I accept the license terms
9.ต่อไปให้เลือก Custom
10.จะปรากฏช่องคำถาม Where do you want to install windows? ให้เลือกที่ Drive options(advanced)
11.จากนั้นให้เลือกที่ Disk O Partition2 แล้วทำการ Delete เสร็จแล้ว ให้คลิก New ต่อด้วย Apply และคลิก Next
12.ขั้นตอนนี้จะต้องรอ...เพราะเครื่องกำลังดำเนินการติดตั้ง
13.เมื่อการติดตั้งเสร็จสิ้น ก็จะมาถึงขั้นตอนของการตั้งชื่อ ในกรอบ Type a user name เช่นให้ตั้งชื่อเป็น IT01 แล้วให้คลิก Next
14.ต่อไปก็จะให้เราตั้งรหัสผ่าน ขั้นตอนนี้สามารถข้ามไปได้ โดยคลิกที่ Next
15.จะปรากฎ Type your windows product key ก็สามารถข้ามไปได้เช่นกัน โดยคลิกที่ Next
16.ต่อไปให้เลือก Use recommended settings
17.เมื่อมาถึงการตั้งเวลา ระบบจะตั้งให้แล้วอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเวลาของกรุงเทพ เสร็จแล้ว คลิก Next
18.เมื่อถึง Join a wireless network คือให้เลือกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเลือก Com-WiFi2 แล้วคลิก Next
19.ขั้นตอนนี้จะต่อจากข้อที่แล้ว คือจะให้เราทำการเลือกโซนพื้นที่ใช้เน็ต โดยให้เลือก โซนสาธารณะ
20.จากนั้นหน้าจอจะขึ้นมาให้เลือกสามข้อ หาว่าไม่ต้องการรอก็สามารถเลือกข้อที่ 3(ฺBoot from Hard Disk) ได้เลย
21.ก็เป็นอันเสร็จเรียนร้อยสำหรับการติดตั้ง Windows7

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

-องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

Component (องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์) แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้


          - Hardware (อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น CPU,DVD,RAM,MIS,AGP,mouse,keyboad)


          - Propleware (คน) 
                    - User                   คือ ผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป
                    - Administrator      คือ ผู้ดูแลระบบ
                    - Programmer
                    - Web De sinner     คือ ผู้ออกแบบและพัฒนาเว็บ
                    - Web Master         คือ ผู้ดูแลเว็บไซต์ 


          - Software (โปรแกรม)
                    - Os p (Operating System) คือ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ แบ่งออกได้ 2 ส่วนดังนี้
                              - Licesis
                                        - Windows
                                                  - Windows 7
                                                  - Windows Vista
                                                  - Windows Xp
                                                  - Windows Me (Millane)
                                                  - Windows 98
                                                  - Windows 95
                                                  - Windows 3.0,3.1,3.11
                                        - Mac


                              - Open Sovre 
                                        - Linuk
                                                  - Ubutu
                                                  - Centos


                    - Application P (โปรแกรมประยุกต์)
                              - Antyviras
                              - Office 
                                        - Office 2010
                                        - Office 2007
                                        - Office 2003
                                        - Office 97
                              - Tools

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

-การติดตั้ง Windows 7

1. เซตไบออสให้บูตด้วย CD/DVD ก่อน  อ่านได้ที่ (http://www.it4x.com/forum/index.php?topic=30.0)
2. หลังจากนั้นใส่แผ่นเข้าไปเมื่อเครื่องเริ่มอ่านแผ่นแล้วบู๊ตจากแผ่นขึ้นมาเป็นหน้าตาแบบนี้
ระบบจะทำการโหลดไฟล์ setting ลงไปในเครื่อง

โลโก้ bootscreen แบบอนิเมชันสวยงาม
หน้าเริ่มต้นการติดตั้ง บรรทัดแรก เลือกภาษาอังกฤษในการติดตั้ง  บรรทัดสอง เลือก time and currency format ช่องนี้ให้เลือกเป็นไทย  เพื่อที่ว่าเวลาติดตั้งเสร็จวินโดวส์จะมีภาษาไทยให้ใช้  บรรทัดที่สาม keyyboard เป็น US ก็ได้  แล้วกด next
พร้อมที่จะติดตั้ง กด Install now  ด้านล่างจะมีทางเลือกพิเศษให้สองทาง
ถ้าเลือก What to know before installing windows จะเปิดไฟล์ Help and support ซึ่งจะบอกรายละเอียดของการติดตั้งเพิ่มเติม   ถ้าเลือกอีกหัวข้อ จะเป็น repair your computer   คือการซ่อมวินโดวส์แบบไม่ต้องลงใหม่

กรณีนี้เราเลือก Install now จะมาที่หน้านี้  ให้คลิกยอมรับ Licence term
หน้านี้จะถามว่า คุณจะติดตั้งแบบไหน  ถ้าเลือก Upgrade จะเป็นการลงวินโดวส์ทับของเก่า โปรแกรมและไฟล์จะไม่หาย   ถ้าเลือก Custom จะเป็นการติดตั้งแบบลงใหม่หมด พร้อมฟอร์แมตดิสค์
หน้าต่างนี้จะถามว่า คุณจะติดตั้งลงไดร์วไหน  ถ้าเครื่องคุณมีหลายไดร์ว ต้องจำชื่อหรือ จำขนาดให้ดี เลือกแล้ว กด next

copy ไฟล์ และทำการติดตั้ง ขั้นตอนนี้อาจจะต้องรอนานหน่อย

ยังไม่ครบขั้นตอนดี จะรีสตาร์ทก่อนรอบนึง


กลับมาติดตั้งต่ออีกหน่อยนึง แล้วรีสตาร์ทอีกรอบ
ติดตั้งเสร็จแล้ว ตั้งชื่อผู้ใช้ และ ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์
ตั้งรหัสผ่าน ถ้าไม่ต้องการใช้รหัสผ่านให้เว้นว่างไว้ ใส่ Product key ที่ได้มาจากตอนลงทะเบียนดาวโหลดตัวติตตั้ง
ตั้งค่าการอัพเดต แนะนำให้เลือก use recommended setting
ตั้งเวลา และวันเดือนปี เอาเป็น +7.00 bangkok
จากนั้นตั้งสภาพแวดล้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์   แต่ละหัวข้อจะมีความปลอดภัยต่างกัน   Home network ความปลอดภัยจะต่ำ เน้นการแชร์ไฟล์ให้กันและกัน   Work network ควมปลอดภัยปานกลาง แชร์ไฟล์ได้แต่ต้องมีรหัสผ่าน   Public network ความปลอดภัยสูง ไม่เก็บพาสเวิร์ดและไม่แชร์ไฟล์    
ถ้าไม่แน่ใจให้เลือก Public network
เสร็จสิ้นการติดตั้ง เตรียมเข้าสู่ Windows 7

Credir - http://www.it4x.com/forum/index.php?topic=31.0

คำนิยามความคิดเชิงสร้างสรรค์

คำนิยามนักวิชาการประเทศไทย (2 ท่าน) 1.อารี รังสินันท์ ( 2527) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดจินตนาการปร...