วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

-หลักการออกแบบและพัฒนาเว็บไชต์

การสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่มากมาย ซึ่งเราจะต้องหาข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจก่อนที่จะถึงขั้นลงมือทำจริง ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์คืออะไร,ใครเป็นกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย,ทีมงานมีใครบ้างและแต่ละคนเชี่ยวชาญในเรื่องใด,เนื้อหาและข้อมูลจะมาจากที่ไหน,เทคโนโลยีอะไรบ้างที่จะนำมาใช้,รูปแบบของเว็บเพจควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่เราจะพิจารณากันดังต่อไปนี้
1.กำหนดเป้าหมายและวางแผน
2.วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล
3.ออกแบบเว็บเพจและเตรียมข้อมูล
4.ลงมือสร้างและทดสอบ
5.เผยแพร่และส่งเสริมให้ป็นที่รู้จัก
6.ดูแลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


Credit - http://business-online.tht.in/aticle-design-website.html

การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ คือ การวางแผนการจัดลำดับ เนื้อหาสาระของเว็บไซต์ ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อจัดทำเป็นโครงสร้างในการจัดวางหน้าเว็บเพจทั้งหมด เปรียบเสมือนแผนที่ ที่ทำให้เห็นโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ ช่วยในนักออกแบบเว็บไซต์ไม่ให้หลงทาง การจัดโครงสร้างของเว็บไซต์ มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การที่จะทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชม สามารถค้นหาข้อมูลในเว็บเพจได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่สามารถสร้างความสำเร็จให้กับผู้ที่ทำหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Webmaster) การออกแบบโครงสร้างหรือจัดระเบียบของข้อมูลที่ชัดเจน แยกย่อยเนื้อหาออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันและให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน จะช่วยให้น่าใช้งานและง่าย ต่อการเข้าอ่านเนื้อหาของผู้ใช้เว็บไซต์
Credit - http://sufiyan52.multiply.com/

การสร้างเว็บไซต์นั้น จะต้องยึดหลักผู้เข้าชมเป็นสำคัญ  และมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เป็นปัจจุบันเสมอ ซึ่งการออกแบบเว็บไซต์นั้นก็ไม่ใช่เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง แต่ควรคำนึงถึงผู้ที่มาเข้าชมเว็บไซต์ด้วย คือ สามารถเข้าได้โดยไม่จำกัดเพศหรือวัย และควรสื่อสารผ่านทางเว็บด้วยเนื้อหาที่ไม่ผิดศีลธรรม หรือก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยทั่วไปแล้ว ก็มีเว็บไซต์หลายประเภท อาทิเช่น การโฆษณาทางธุรกิจ เว็บไซต์โรงเรียน,วิทยาลัย,มหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการสื่อสารและประกาศกิจกรรมของหน่วยงานตนให้บุคคลภายนอกได้รับทราบด้วย 
(แนวความคิด โดย พิทักษ์;2554)

1 ความคิดเห็น:

  1. OK คับ พิทักษ์ จะให้ดีที่สุดคือ สรุปความคิดของเราด้วย

    ตอบลบ

คำนิยามความคิดเชิงสร้างสรรค์

คำนิยามนักวิชาการประเทศไทย (2 ท่าน) 1.อารี รังสินันท์ ( 2527) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดจินตนาการปร...